แบบจำลองอะตอมของโบร์

 นีลส์ บอร์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นี บอห์ร


       ในการศึกษาฟิสิกส์อะตอม แบบจำลองของบอร์ (อังกฤษBohr model) ที่นีลส์ บอร์นำเสนอเมื่อปี ค.ศ. 1913 อธิบายถึงภาพของอะตอมว่าคือนิวเคลียสขนาดเล็กมากๆ ที่มีประจุบวก ล้อมรอบไปด้วยอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เป็นวงโคจรกลมรอบนิวเคลียสนั้นในลักษณะที่คล้ายคลึงกับโครงสร้างของระบบสุริยะ แต่อาศัยแรงไฟฟ้าสถิตในการดึงดูดกันแทนที่จะเป็นแรงโน้มถ่วง ถือเป็นการพัฒนาแบบจำลองอะตอมยุคก่อนหน้านี้คือ แบบจำลองคิวบิก (1902) แบบจำลองขนมปังลูกเกด (1904) แบบจำลองดาวเสาร์ (1904) และแบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด(1911) แบบจำลองของบอร์เป็นการปรับแต่งเชิงควอนตัมฟิสิกส์จากแบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด ดังนั้นแหล่งข้อมูลหลายแห่งอาจเรียกแบบจำลองทั้งสองนี้รวมๆ กันว่า "แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด-บอร์"


        บอร์ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมขึ้นมาโดยนำแบบจำลองอะตอมของรัทฟอร์ดมาแก้ไข เขาศึกษาสเปกตรัมการเปล่งแสงของธาตุ โดยบรรจุแก๊สไฮโดรเจนในหลอดปล่อยประจุ จากนั้นให้พลังงานเข้าไป

ผลการทดลอง    
        อิเล็กตรอนเคลื่อนจากขั้วบวกไปขั้วลบชนกับแก๊สไฮโดรเจน จากนั้นเปล่งแสงออกมาผ่านปริซึมทำให้เราเห็นเป็นเส้นสเปกตรัมสีต่าง ๆ ตกบนฉากรับภาพ


สรุปผลการทดลอง          

        การเปล่งแสงของธาตุไฮโดรเจน เกิดจากอิเล็กตรอนเปลี่ยนระดับพลังงานจากวงโคจรสูงไปสู่วงโคจรต่ำ พร้อมทั้งคายพลังงานในรูปแสงสีต่าง ๆ  


สรุปแบบจำลองอะตอมของบอร์

1. อิเลคตรอนจะอยู่กันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเรียกว่า “ระดับพลังงาน”




2. อิเลคตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานวงนอกสุดเรียกว่า เวเลนซ์อิเลคตรอน (Valent electron)จะเป็นอิเลคตรอน
    ที่เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้
3. อิเลคตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานวงในอยู่ใกล้นิวเคลียส จะเสถียรมากเพราะประจุบวกจากนิวเคลียสดึงดูด
    ไว้อย่างดี ส่วนอิเลคตรอนระดับพลังงานวงนอจะไม่เสถียรเพราะนิวเคลียสส่งแรงไปดึงดูดได้น้อยมาก 
4. ระดับการพลังงานวงในจะอยู่ห่างกันมาก ส่วนระดับพลังงานวงนอกจะอยู่ชิดกันมาก
5. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเลคตรอน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนในระดับถัดกัน อาจเปลี่ยนข้ามระดับ
     พลังงานกันก็ได้

     

อิเล็กตรอนเคลื่อนจากขั้วบวกไปขั้วลบชนกับแก๊สไฮโดรเจน จากนั้นเปล่งแสงออกมาผ่านปริซึมทำให้เราเห็นเป็นเส้นสเปกตรัมสีต่าง ๆ ตกบนฉากรับภาพ




ที่มา : http://atomic-model.blogspot.com/2010/12/blog-post_6752.html
           https://th.wikipedia.org/wiki/แบบจำลองของบอร์

ไม่มีความคิดเห็น: